วิธีฝึกเชาวน์ปัญญาของเด็ก เชาวน์ปัญญา หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ การปรับตัวต่อปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีจุดมุ่งหมาย สามารถคิดอย่างมีเหตุผล ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆ ดังนี้ ขอขอบคุณภาพ pixabay.com พันธุกรรมหากคุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวมีระดับสติปัญญาค่อนข้างสูง เรียนรู้และซึมซับสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ลูกก็มีแนวโน้มที่จะเรียนรู้และมีพัฒนาการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วตามไปด้วย สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อมที่ดีและเอื้อให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ จะช่วยส่งเสริมให้เชาวน์ปัญญาของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือคนในครอบครัว หากปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยมีครอบครัวคอยดูแลเอาใจใส่และมอบความรักความอบอุ่นให้อย่างสม่ำเสมอ เด็กก็จะมีสภาพจิตใจที่ดี และพร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน อายุระดับอายุที่พัฒนาการของเชาวน์ปัญญาถึงขั้นสูงสุดคือระหว่างอายุ 15-25 ปี เชาวน์ปัญญาเมื่อพัฒนาถึงขั้นสูงสุดจะค่อยๆ เสื่อมลงตามวัยแต่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แทบสังเกตไม่ได้ การเสื่อมของเชาวน์ปัญญาในแต่ละด้านอาจเสื่อมเร็วและช้าไม่เท่ากัน เพศเพศชายมักมีความสามารถทางด้านการคำนวณ ถนัดทางกลไกการกระทำที่ใช้ไหวพริบ และความรวดเร็วดีกว่าเพศหญิง ส่วนเพศหญิงมักมีความคล่องแคล่วในการใช้มือ งานที่ต้องใช้ฝีมือ ลายละเอียด การใช้ภาษา ความสามารถทางภาษา และความจำดีกว่าเพศชาย เชื้อชาติเด็กลูกผสมมักจะมีเชาวน์ปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ใช่ลูกผสม ความผิดปกติทางสมองความผิดปกติทางสมองอาจมีผลต่อการเสื่อมลงของเชาวน์ปัญญาก่อนเวลาอันสมควร…
ฝึกให้ลูกทำงานบ้านสร้าง EF ขอขอบคุณภาพจาก : www.pixabay.com ทำไมลูกไม่ชอบทำงานบ้านเลย บอกให้ล้างจานก็อิดออด เรียกให้กวาดบ้านก็นิ่งเฉย ทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ก็โวยวาย ไม่พอใจ หรือทำไปสักพักก็ล้มเลิกกลางคันง่าย ฯลฯ การควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อไปถึงเป้าหมายไม่ได้เกิดขึ้นได้เอง ต้องอาศัย “เวลา” และ “การฝึกฝน” ทำไม่ได้วันนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องทำไม่ได้ตลอดไป สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ต้องลงทุนเวลาฝึกลูก ไม่มีเส้นทางลัด ฝึกให้ลูกทำงานบ้านสร้าง EF เด็กยิ่งเล็กยิ่งฝึกได้ง่าย เพราะทุกอย่างสนุกสำหรับเขา เด็กโตขึ้นหน่อยเริ่มเข้าใจว่างานบ้านไม่สนุก แต่ฝึกได้แน่นอนแค่ต้องใช้เวลามากขึ้น เด็กยิ่งเล็กตอนฝึกยิ่งเละเป็นเรื่องปกติ พ่อแม่มีหน้าที่อดทน ฝึกให้ทำสม่ำเสมอ แล้ว “คุณภาพ” ของงานจะค่อยๆดีขึ้น ฝึกให้ลูกทำงานบ้านตามวัยตั้งแต่วันนี้ ลูกจะมี EF มีสมองที่ดีในการรู้จักควบคุมตัวเองเพื่อไปถึงฝันของเขาในวันหน้า ไม่ให้เหตุผลใดๆมาเป็นข้อแม้ ทั้งความเป็นห่วงเกินเหตุ กลัวสารพัด ไม่อยากเหนื่อย…
วิธีป้องกันลูกจากอันตรายในโลกอินเทอร์เน็ตและการถูกกลั่นแกล้ง การดูแลลูกๆ ให้ปลอดภัยจากอันตรายในโลกอินเทอร์เน็ตและการถูกกลั่นแกล้งถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของพ่อแม่ เมื่อลูกๆ เริ่มเข้าโรงเรียนและออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น พวกเขาย่อมได้รับประสบการณ์ล้ำค่าและได้พบปะผู้คนใหม่ๆ แต่ถึงอย่างไรพ่อแม่ก็จำเป็นต้องคอยดูแลสอดส่องลูกๆ ด้วยความเอาใจใส่อยู่เสมอ สิ่งที่พ่อแม่ควรคำนึงถึงก็คือ แต่ละครอบครัวมีกฎกติกาที่แตกต่างกันไป พ่อแม่ต้องตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะอนุญาตให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตตอนอายุเท่าไหร่ และจะอนุญาตให้ใช้ได้นานแค่ไหน ถ้าเพื่อนของลูกได้รับอนุญาตให้ใช้มือถือแล้ว นั่นหมายความว่าครอบครัวของเขามีกฎกติกาอีกแบบ พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้กับลูกให้ชัดเจน เอาใจใส่และหมั่นพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ พ่อแม่ต้องคอยถามไถ่เกี่ยวกับชีวิตของลูกและรับฟังอย่างตั้งใจ สังเกตพฤติกรรมของลูกว่ามีสิ่งใดแปลกไปหรือไม่ รวมถึงบอกลูกว่าถ้ามีเรื่องกังวลหรือปัญหาใด สามารถปรึกษาหรือพูดคุยกับพ่อแม่ได้เสมอ อันตรายในโลกอินเทอร์เน็ต พ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกๆ ปลอดภัยจากอันตรายในโลกอินเทอร์เน็ตได้ด้วยการตระหนักอยู่เสมอว่าลูกกำลังทำอะไรอยู่ นั่นหมายความว่าพ่อแม่อาจกำหนดให้ลูกเล่นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเลตในห้องที่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วยเท่านั้น หรืออาจใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมการใช้งานด้วยการกำหนดว่าเว็บไซต์ ภาพ และคลิปวิดิโอประเภทใดบ้างที่ลูกสามารถเข้าถึงได้ แต่การป้องกันไม่ให้ลูกๆ เข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสมอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด เพราะมีความเป็นไปได้ที่ลูกจะไปพบข้อมูลเหล่านั้นโดยบังเอิญ พ่อแม่ต้องคอยย้ำเตือนกับลูกว่าสามารถพูดคุยกับพ่อแม่ได้เสมอหาพบเจอข้อมูลใดก็ตามที่ทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายใจหรือวิตกกังวล อย่าลืมบอกลูกเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ พ่อแม่อาจตั้งกฎขึ้นมาว่าให้ลูกขออนุญาตก่อนที่จะพูดคุยกับบุคคลในอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม พ่อแม่หลายคนใช้วิธีห้ามไม่ให้ลูกๆ ของตัวเองพูดคุยกับใครก็ตามที่พวกเขาไม่รู้จักในโลกแห่งความเป็นจริง แต่เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น พ่อแม่อาจจับเข่าพูดคุยกับลูกเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎข้อนี้ ต่อไปนี้เป็นข้อห้ามพื้นฐานที่พ่อแม่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจ ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (เช่น ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์)…
ที่เราบอกว่า “ลูกดื้อมาก ซนมาก เอาแต่ใจมาก ทำตัวไม่น่ารัก”เป็นเพราะลูกเป็นแบบนั้นจริงๆ หรือเพราะเราฝืนธรรมชาติความเป็นเด็กของลูก? ลูกซนมาก อยู่นิ่งไม่ได้เลย ลูกชอบรื้อของมาก ค้นทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้า ลูกดื้อมาก ขู่ บ่น หรือตีก็แล้ว ลูกก็ไม่ฟังเลย ลูกชอบอาละวาด กรี๊ด งอแงเวลาไม่พอใจ ลูกกินน้อย กินยาก ต้องคอยตามป้อนตลอด ลูกหวงของเล่นมาก ไม่แบ่งของเล่นให้น้องเล่นบ้างเลย ลูกช่างถาม สงสัยได้ทุกเรื่อง พูดได้ทั้งวัน ลูกห่วงเล่น ถึงเวลากินไม่กิน ถึงเวลานอนไม่นอน ลูกมีนิสัยเหมือนเด็กขี้แย ขี้กลัว ชอบร้องไห้งอแงเวลาเจอสถานการณ์ใหม่ๆ และอีกสารพัดปัญหาที่ลูกแสดงออกที่ทำให้เรากังวลกับพฤติกรรมที่ลูกทำ และบอกว่าลูก “ดื้อ“ หรือ “เอาแต่ใจ“ ความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่เพราะลูก “ดื้อ“ หรือ “เอาแต่ใจ“ แต่หลายๆ เรื่องเป็นเรื่อง “ปกติของเด็กเล็ก” เป็น…
5 สถานที่ในกรุงเทพและปริมณฑลที่น่าพาลูกไปเที่ยว พ่อแม่บางคนอาจไม่รู้ว่าจะพาลูกไปเที่ยวหรือทำกิจกรรมที่ไหนเมื่อถึงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ การหาสถานที่ท่องเที่ยวอาจดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย เพราะพ่อแม่ย่อมมีเงื่อนไขมากมายอยู่ในใจ เช่น อยากพาลูกไปในสถานที่ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการ อยากให้ลูกได้ความรู้และประโยชน์จากการท่องเที่ยว ฯลฯ แต่สำหรับลูก แค่ได้ออกไปข้างนอกและได้วิ่งเล่นก็เพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตาม ข้อดีหลักๆ ของการพาลูกไปเที่ยวคือ การได้กระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ทำให้พ่อแม่ได้พูดคุยกับลูกมากขึ้นและได้ทำกิจกรรมร่วมกับลูก ต่อไปนี้คือ 5 สถานที่ในกรุงเทพและปริมณฑลที่เราแนะนำให้พ่อแม่พาลูกไปเที่ยวค่ะ 1. HarborLand สถานที่นี้เหมาะสำหรับพ่อแม่ที่ไม่อยากพาลูกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะกลัวว่าลูกจะไม่สบายเมื่อเจออากาศร้อน ฮาร์เบอร์แลนด์เป็นสนามเด็กเล่นในร่มที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ได้มาตรฐานระดับโลก และได้รับการออกแบบโดยบริษัทผู้ผลิตเครื่องเล่นชั้นนำของโลก (รูป : https://harborlandgroup.com) • กิจกรรมและเครื่องเล่นในฮาร์เบอร์แลนด์จะแบ่งออกเป็นโซน เช่น ฮาร์เบอร์แลนด์, มอเตอร์ซิตี้, โรลเลอร์แลนด์, อินแฟลตทาเบิล ฯลฯ • เหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 5 เดือน – 15ปี •…
วันนี้รู้สึกอย่างไรบ้าง? จำได้ว่าช่วงที่เรม่าเล็กๆ ประมาณสักสองขวบครึ่ง มีครั้งหนึ่งที่หม่ามี้จำเหตุการณ์ได้ขึ้นใจ ตอนนั้นเราไปที่สนามเด็กเล่นกันแล้วมีเด็กคนหนึ่งเททรายใส่ที่หน้าของเรม่า เศษทรายเข้าตาจนเรม่าลืมตาไม่ขึ้น พอหม่ามี้ถามเรม่าว่าเกิดอะไรขึ้น รู้สึกยังไงบ้าง เรม่าตอบว่า “I am hurt. I feel sad.” “เรม่าเจ็บ เรม่ารู้สึกเสียใจ” การรู้ทันอารมณ์ (Emotional awareness) เป็นทักษะที่สำคัญมากและต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน เด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไปเป็นวัยที่เราสามารถสอนให้เขารู้ทันอารมณ์ของตัวเองได้ โดยเริ่มต้นจากการถามคำถามสั้นๆแต่ทรงพลังว่า “วันนี้รู้สึกอย่างไรบ้าง?” ในช่วงแรกเราอาจจะต้องช่วยลูก “สะท้อนอารมณ์ของตัวเอง” เพราะลูกอาจจะยังไม่เข้าใจว่าตอนนี้ตัวเองรู้สึกยังไงหรือยังสื่อสารไม่ถูก โดยการสอนให้ลูกรู้จักเรียกชื่ออารมณ์ต่างๆ อารมณ์ดีใจ เสียใจ น้อยใจ เศร้าใจ โกรธ หงุดหงิด เหงา ผิดหวัง กลัว ไม่พอใจ ช่วยเพิ่ม “คลังคำศัพท์ทางอารมณ์” ให้ ตัวอย่างเช่น “ลูกร้องไห้เพราะลูกรู้สึกเสียใจ”…
มื้ออาหารคือ เวลากินข้าว ทำไมลูกของเราถึงกินยาก เลือกกิน จะกินข้าวแต่ละมื้อแสนจะเหนื่อย ต้องคอยเดินตามป้อน ลูกชอบอมข้าว กินข้าวแต่ละครั้งใช้เวลาเป็นชั่วโมง ถ้าไม่มีจอวางตรงหน้า ลูกจะงอแงมาก ไม่ยอมอ้าปากกินข้าวเลย ลูกกินข้าวน้อยมาก ตัวผอม น้ำหนักไม่ขึ้นเลย ฯลฯ เรื่องการกินจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เมื่อเราใส่ใจใน “ทัศนคติและวินัยในการกิน” สิ่งที่เราจำเป็นต้องปลูกฝังและฝึกลูกคือ การสอนให้ลูกเข้าใจว่า “มื้ออาหารคือ เวลากินข้าว” ไม่ใช่เวลาวิ่งเล่น ไม่ใช่เวลาดูจอโทรทัศน์ ไม่ใช่เวลาดูจอไอแพด ไม่ใช่เวลาเล่นของเล่น ไม่ใช่เวลาเล่นโทรศัพท์ มื้ออาหาร แม้จะเป็นเรื่องกิจวัตรประจำวันเล็กๆ แต่ส่งผลถึงเรื่องพื้นฐานใหญ่ๆ ในด้านอื่นๆ ของชีวิต “มื้ออาหารคือ ช่วงเวลาที่ลูกจะได้เรียนรู้” เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเองโดยการกินข้าวด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะมีวินัย รู้หน้าที่และเวลา โดยการนั่งกินข้าวเป็นที่ เรียนรู้ที่จะมีมารยาททางสังคม เรียนรู้ว่า “เวลาไหนควรทำอะไร?”“มารยาทบนโต๊ะอาหารที่ดีเป็นอย่างไร?” สิ่งเหล่านี้เริ่มต้นจากที่บ้าน โดยการที่คนในครอบครัวทำเป็นแบบอย่าง…
“จับถูก” มากกว่า “จับผิด” พฤติกรรมลูกอาจจะไม่น่ารักตลอดเวลา ลูกเราอาจจะไม่ได้ดูน่ารักสำหรับทุกคน แต่จงอย่าลืมเวลาที่เขาน่ารัก “จับถูก” มากกว่า “จับผิด” เป็นปกติมากที่เมื่อเราเลี้ยงเด็กเล็กๆ จะมีบางวันที่ราบรื่นและมีวันที่เราต้องใช้พลังงานมากเป็นพิเศษ การที่เด็กคนหนึ่งจะงอแงหรือมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารักมีเหตุผลและปัจจัยหลายอย่างมาก • อาจเป็นเพราะ…สมองของเขากำลังอยู่ในวัยเติบโตอย่างก้าวกระโดด • อาจเป็นเพราะ…เขากำลังปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย • อาจเป็นเพราะ…เขากำลังพยายามสื่อสาร บอกกับเราว่า “สนใจเขาหน่อย มีเวลาให้เขาบ้าง” เขาต้องการเวลาจากเรา • อาจเป็นเพราะ…เขากำลังอยากทดสอบว่า ขอบเขตของเขาอยู่ที่ไหน เขาอยากรู้ว่าเราจะตอบสนองอย่างไร • อาจเป็นเพราะ…เขากำลังตื่นเต้นกับพัฒนาการใหม่ๆของเขา • หรืออาจเป็นเพราะ…เขารู้สึกเหนื่อย ง่วง หิว ไม่สบายตัว ฟันขึ้น เป็นไข้ อึดอัด ไม่สบายใจฯลฯ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลไหนก็ตาม หลายๆ เรื่องเป็นเรื่อง “ปกติของเด็กเล็ก” เป็น “ธรรมชาติความเป็นเด็ก” ของเขา ไม่ใช่เป็นเพราะเขา…
ความในใจของเด็กดื้อและเอาแต่ใจ ธรรมชาติของเด็กมีการพัฒนาสมองส่วนอารมณ์เร็วกว่าส่วนเหตุผล เด็กไม่ได้เกิดมาแล้วจะเข้าใจหลักเหตุผลโดยทันที หรือรู้จักควบคุมอารมณ์ได้ดีแต่เล็กๆ เด็กเล็กๆมีความซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเองมาก รู้สึกอย่างไร ก็มักจะแสดงออกความรู้สึกออกไปอย่างนั้น เป็นความรู้สึกที่ไม่ได้ถูกคิดไตร่ตรอง จึงไม่แปลกที่เมื่อรู้สึกไม่พอใจ ก็จะระเบิดความรู้สึกนั้นออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น อยู่ๆก็งอแงขึ้นมา อยู่ๆก็อารมณ์แปรปรวน ขึ้นๆลงๆ บางครั้งร้องไห้ขอให้อุ้มตลอด บางครั้งร้องไห้แต่ไม่ให้กอด ไม่ให้อุ้ม บางครั้งไม่พอใจก็ลงไปดิ้นที่พื้น บางครั้งโมโหก็กรีดร้องเสียงดัง บางครั้งก็ตีตัวเอง ทำลายข้าวของ หรืออีกหลายๆพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา ไม่ใช่เพราะว่า เด็ก “ดื้อ” หรือ “เอาแต่ใจ” แต่เป็นเพราะเขากำลังพยายามสื่อสาร “ความในใจ” ของเขา พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่เด็กแสดงออกมา เขาแค่อยากให้พ่อแม่ “สนใจ” ในตัวเขา เขาแค่อยากให้พ่อแม่ “ให้เวลาคุณภาพ” กับเขา เขาแค่อยากบอกพ่อแม่ว่า “เขารู้สึกไม่โอเคอยู่นะ” รู้สึกไม่พอใจ เหนื่อย ง่วงนอน หิว โมโห สับสน…