ทักษะ 8C : ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding)

ทักษะ 8C : ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding)           ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ เป็นทักษะที่มีความสำคัญมากสำหรับศตวรรษที่ 21 เพราะในยุคสมัยนี้ ผู้คนมีความหลากหลายทั้งในด้านเชื้อชาติ อายุ สถานะ เพศ ศาสนา ความคิด และแม้กระทั่งความเชื่อ ผู้ปกครองจึงควรปลูกฝังให้เด็กๆ ตระหนักรู้ เข้าใจ และยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น เพื่อสนับสนุนให้เด็กยอมรับ และชื่นชมในตัวตนทั้งของตนเองและผู้อื่นโดยปราศจากอคติ   วิธีปลูกฝังทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์           ผู้ปกครองและคุณครูสามารถปลูกฝังทักษะนี้ให้เด็กได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการลองใช้วิธีการเหล่านี้   สำรวจแผนที่โลกและลูกโลก           การสำรวจแผนที่โลกและลูกโลกจะช่วยไขปริศนาสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ ผู้ปกครองอาจเริ่มต้นด้วยการชี้ไปที่ประเทศ ทวีป หรือมหาสมุทร แล้วเริ่มเล่นเกมสนุกๆ กับเด็กอย่างเกม “ตามหาประเทศ” หรือ “เดาชื่อเมืองหลวง”…
Read More

ทักษะ 8C : ทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ (Communication Information and Media Literacy)

ทักษะ 8C : ทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ (Communication Information and Media Literacy)           ทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อเป็นอีกทักษะที่มีความสำคัญมากสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21 และถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานในโลกยุคนี้ ถึงแม้โลกอินเทอร์เน็ตจะทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับเด็กๆ แต่ข้อควรระวังก็คือ ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตอาจไม่ถูกต้อง ไม่น่าเชื่อถือ หรือไม่มีประโยชน์เสมอไป เด็กอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ โดนหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว หรือเผลอโพสต์สิ่งที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น การฝึกฝนทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อจึงเปรียบได้กับเกราะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาข้างต้น   วิธีปลูกฝังทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ           ผู้ปกครองและคุณครูสามารถปลูกฝังทักษะนี้ให้เด็กได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการลองใช้วิธีการเหล่านี้   สอนให้เด็กเข้าใจธรรมชาติของสื่อ           ผู้ปกครองสามารถสอนเรื่องข้อจำกัดของสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพหรือคลิปวิดีโอที่แพร่หลายอยู่ในอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่สามารถตัดต่อได้ หรือสามารถถ่ายให้เห็นเฉพาะส่วนที่อยากจะนำเสนอ ทำให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือบางครั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาจใช้วิธีการยิงโฆษณาทางโซเชียลมีเดียอย่าง facebook ทำให้ผู้รับสารเห็นโพสต์นั้นบ่อยๆ จนคิดว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวน่าเชื่อถือ จนตัดสินใจซื้อโดยไม่ได้เปรียบเทียบคุณภาพและราคากับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่คนละแบรนด์ เป็นต้น…
Read More

ทักษะ 8C : ทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration, Teamwork and Leadership)

ทักษะ 8C : ทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration, Teamwork and Leadership)           ทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นถือเป็นหนึ่งในทักษะที่มีความสำคัญมากสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21 ทั้งยังถือเป็นทักษะทางสังคม (social skill) ที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องปลูกฝังให้เด็กๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะการทำงานร่วมกันคือสิ่งจำเป็นที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใดก็ตาม เช่น ในโรงเรียน ในการเล่นกีฬา และในสถานที่ทำงาน การเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัวจึงถือเป็นทักษะที่สำคัญในการเข้าสังคมของมนุษย์   วิธีปลูกฝังทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น           การปลูกฝังทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ ผู้ปกครองและคุณครูสามารถฝึกเด็กๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการลองใช้วิธีการเหล่านี้   หากิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กทำร่วมกับผู้อื่น           หากต้องการให้เด็กรู้จักปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนที่โรงเรียนหรือกลุ่มเพื่อนในละแวกบ้าน เพื่อให้เด็กได้ทำความคุ้นเคยกับการใช้เวลากับเด็กคนอื่น และไม่กลัวที่จะแสดงออกถึงความคิดเห็นของตนเอง ผู้ปกครองอาจเริ่มด้วยการปล่อยให้เด็กเล่นกันเองไปก่อนโดยไม่เข้าไปยุ่ง เมื่อเด็กเริ่มปรับตัวได้แล้ว ก็ลองให้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความร่วมมือหรือใช้ทีมเวิร์คมากขึ้น เช่น เล่นต่อบล็อกร่วมกัน เล่นต่อ puzzle…
Read More

ทักษะ 8C : ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)

ทักษะ 8C : ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)           ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหามีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก ทักษะนี้จะช่วยให้เด็กสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้ด้วยตนเองและกล้าที่จะตัดสินใจ การสอนให้เด็กรู้จักพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ถือเป็นการช่วยปูพื้นฐานให้เด็กประสบความสำเร็จด้านการเรียน และช่วยให้มีอนาคตที่สดใส นอกจากนี้ ทักษะการคิดวิเคราะห์ยังช่วยให้เด็กจัดการกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ได้ดีขึ้น กล่าวคือ เด็กจะสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ และคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมได้   วิธีส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา           การปลูกฝังทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาให้กับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ ต่อไปนี้คือวิธีที่ผู้ปกครองและคุณครูสามารถนำไปใช้ได้             1. ตั้งคำถาม           ผู้ปกครองอาจตั้งคำถามในทำนองว่า “ทำไมหนูถึงคิดแบบนี้” หรือ “หนูลองยกตัวอย่างเพิ่มเติมได้ไหม” คำถามเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างนิสัยการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กๆ ทั้งยังช่วยให้เด็กรู้จักประเมินสถานการณ์ และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นของตัวเอง             2. กระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็น           ความอยากรู้อยากเห็นถือเป็นประตูสู่การคิดวิเคราะห์ ผู้ปกครองอาจใช้วิธีกระตุ้นให้เด็กตั้งคำถาม สำรวจแนวคิดใหม่ๆ…
Read More

วิธีเตรียมความพร้อมสำหรับการขึ้น ป.1

วิธีเตรียมความพร้อมสำหรับการขึ้น ป.1 ให้ลูกๆ        การขึ้น ป.1 ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญมากสำหรับพัฒนาการของลูกๆ เนื่องจากการทำให้ลูกรู้สึกดีและอยากไปโรงเรียนจะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย มีความมั่นใจ และมีทัศนคติในเชิงบวก เรียกได้ว่าส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่ออนาคตทางการศึกษาของลูก แล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมความพร้อมในด้านไหนบ้าง ลองอ่านดูเลยค่ะ   เตรียมความพร้อมด้านอารมณ์   สอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์พื้นฐานของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนลูกว่า ลูกสามารถโกรธ เสียใจ หรือหงุดหงิดได้ แต่อารมณ์เหล่านั้นต้องไม่ส่งผลเสียต่อตัวเองและผู้อื่น ทั้งยังไม่ควรทำลายข้าวของ พาลูกไปดูโรงเรียนใหม่ การทำความรู้จักผู้คนและสถานที่ใหม่ๆ อาจเป็นเรื่องยากสำหรับลูก แต่การพาลูกไปดูโรงเรียนใหม่ก่อนถึงวันเปิดเทอมจะช่วยลดความตื่นเต้นให้ลูกได้ ทั้งยังช่วยสร้างความคุ้นชินกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ และช่วยให้ลูกปรับตัวได้ง่ายขึ้นด้วย   เตรียมความพร้อมด้านพัฒนาการ สอนให้ลูกพึ่งพาตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การแปรงฟัน การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว การใส่ถุงเท้ารองเท้า การกินอาหาร ฯลฯ ลูกๆ ต้องทำเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่คอยทำให้ สอนให้รู้ทำความคุ้นเคยกับตารางชีวิตใหม่ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องปรับตารางเวลาลูกด้วยการฝึกให้ลูกเข้านอนเร็ว…
Read More

ทักษะ 8C : ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ (Creativity and Innovation)

ทักษะ 8C : ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ (Creativity and Innovation)             ทักษะ 8C ถือเป็นทักษะที่เด็กในศตวรรษที่ 21 ต้องมี โดยประกอบไปด้วย 8 ทักษะ ดังนี้ 1. ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ (Creativity and Innovation) 2. ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) 3. ทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration, Teamwork and Leadership) 4. ทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ (Communication Information and Media Literacy) 5. ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม…
Read More

วิธีฝึกเชาวน์ปัญญาของเด็ก

วิธีฝึกเชาวน์ปัญญาของเด็ก เชาวน์ปัญญา หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ การปรับตัวต่อปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีจุดมุ่งหมาย สามารถคิดอย่างมีเหตุผล ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆ ดังนี้ ขอขอบคุณภาพ pixabay.com พันธุกรรมหากคุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวมีระดับสติปัญญาค่อนข้างสูง เรียนรู้และซึมซับสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ลูกก็มีแนวโน้มที่จะเรียนรู้และมีพัฒนาการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วตามไปด้วย สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อมที่ดีและเอื้อให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ จะช่วยส่งเสริมให้เชาวน์ปัญญาของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือคนในครอบครัว หากปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยมีครอบครัวคอยดูแลเอาใจใส่และมอบความรักความอบอุ่นให้อย่างสม่ำเสมอ เด็กก็จะมีสภาพจิตใจที่ดี และพร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน อายุระดับอายุที่พัฒนาการของเชาวน์ปัญญาถึงขั้นสูงสุดคือระหว่างอายุ 15-25 ปี เชาวน์ปัญญาเมื่อพัฒนาถึงขั้นสูงสุดจะค่อยๆ เสื่อมลงตามวัยแต่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แทบสังเกตไม่ได้ การเสื่อมของเชาวน์ปัญญาในแต่ละด้านอาจเสื่อมเร็วและช้าไม่เท่ากัน เพศเพศชายมักมีความสามารถทางด้านการคำนวณ ถนัดทางกลไกการกระทำที่ใช้ไหวพริบ และความรวดเร็วดีกว่าเพศหญิง ส่วนเพศหญิงมักมีความคล่องแคล่วในการใช้มือ งานที่ต้องใช้ฝีมือ ลายละเอียด การใช้ภาษา ความสามารถทางภาษา และความจำดีกว่าเพศชาย เชื้อชาติเด็กลูกผสมมักจะมีเชาวน์ปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ใช่ลูกผสม ความผิดปกติทางสมองความผิดปกติทางสมองอาจมีผลต่อการเสื่อมลงของเชาวน์ปัญญาก่อนเวลาอันสมควร…
Read More

ฝึกให้ลูกทำงานบ้านสร้าง EF

ฝึกให้ลูกทำงานบ้านสร้าง EF ขอขอบคุณภาพจาก : www.pixabay.com ทำไมลูกไม่ชอบทำงานบ้านเลย บอกให้ล้างจานก็อิดออด เรียกให้กวาดบ้านก็นิ่งเฉย ทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ก็โวยวาย ไม่พอใจ หรือทำไปสักพักก็ล้มเลิกกลางคันง่าย ฯลฯ การควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อไปถึงเป้าหมายไม่ได้เกิดขึ้นได้เอง ต้องอาศัย “เวลา” และ “การฝึกฝน” ทำไม่ได้วันนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องทำไม่ได้ตลอดไป สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ต้องลงทุนเวลาฝึกลูก ไม่มีเส้นทางลัด   ฝึกให้ลูกทำงานบ้านสร้าง EF เด็กยิ่งเล็กยิ่งฝึกได้ง่าย เพราะทุกอย่างสนุกสำหรับเขา เด็กโตขึ้นหน่อยเริ่มเข้าใจว่างานบ้านไม่สนุก แต่ฝึกได้แน่นอนแค่ต้องใช้เวลามากขึ้น เด็กยิ่งเล็กตอนฝึกยิ่งเละเป็นเรื่องปกติ พ่อแม่มีหน้าที่อดทน ฝึกให้ทำสม่ำเสมอ แล้ว “คุณภาพ” ของงานจะค่อยๆดีขึ้น   ฝึกให้ลูกทำงานบ้านตามวัยตั้งแต่วันนี้ ลูกจะมี EF มีสมองที่ดีในการรู้จักควบคุมตัวเองเพื่อไปถึงฝันของเขาในวันหน้า ไม่ให้เหตุผลใดๆมาเป็นข้อแม้ ทั้งความเป็นห่วงเกินเหตุ กลัวสารพัด ไม่อยากเหนื่อย…
Read More

วิธีป้องกันลูกจากอันตรายในโลกอินเทอร์เน็ต

วิธีป้องกันลูกจากอันตรายในโลกอินเทอร์เน็ตและการถูกกลั่นแกล้ง      การดูแลลูกๆ ให้ปลอดภัยจากอันตรายในโลกอินเทอร์เน็ตและการถูกกลั่นแกล้งถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของพ่อแม่ เมื่อลูกๆ เริ่มเข้าโรงเรียนและออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น พวกเขาย่อมได้รับประสบการณ์ล้ำค่าและได้พบปะผู้คนใหม่ๆ แต่ถึงอย่างไรพ่อแม่ก็จำเป็นต้องคอยดูแลสอดส่องลูกๆ ด้วยความเอาใจใส่อยู่เสมอ สิ่งที่พ่อแม่ควรคำนึงถึงก็คือ แต่ละครอบครัวมีกฎกติกาที่แตกต่างกันไป พ่อแม่ต้องตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะอนุญาตให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตตอนอายุเท่าไหร่ และจะอนุญาตให้ใช้ได้นานแค่ไหน ถ้าเพื่อนของลูกได้รับอนุญาตให้ใช้มือถือแล้ว นั่นหมายความว่าครอบครัวของเขามีกฎกติกาอีกแบบ พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้กับลูกให้ชัดเจน เอาใจใส่และหมั่นพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ พ่อแม่ต้องคอยถามไถ่เกี่ยวกับชีวิตของลูกและรับฟังอย่างตั้งใจ สังเกตพฤติกรรมของลูกว่ามีสิ่งใดแปลกไปหรือไม่ รวมถึงบอกลูกว่าถ้ามีเรื่องกังวลหรือปัญหาใด สามารถปรึกษาหรือพูดคุยกับพ่อแม่ได้เสมอ อันตรายในโลกอินเทอร์เน็ต พ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกๆ ปลอดภัยจากอันตรายในโลกอินเทอร์เน็ตได้ด้วยการตระหนักอยู่เสมอว่าลูกกำลังทำอะไรอยู่ นั่นหมายความว่าพ่อแม่อาจกำหนดให้ลูกเล่นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเลตในห้องที่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วยเท่านั้น หรืออาจใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมการใช้งานด้วยการกำหนดว่าเว็บไซต์ ภาพ และคลิปวิดิโอประเภทใดบ้างที่ลูกสามารถเข้าถึงได้ แต่การป้องกันไม่ให้ลูกๆ เข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสมอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด เพราะมีความเป็นไปได้ที่ลูกจะไปพบข้อมูลเหล่านั้นโดยบังเอิญ พ่อแม่ต้องคอยย้ำเตือนกับลูกว่าสามารถพูดคุยกับพ่อแม่ได้เสมอหาพบเจอข้อมูลใดก็ตามที่ทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายใจหรือวิตกกังวล อย่าลืมบอกลูกเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ พ่อแม่อาจตั้งกฎขึ้นมาว่าให้ลูกขออนุญาตก่อนที่จะพูดคุยกับบุคคลในอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม พ่อแม่หลายคนใช้วิธีห้ามไม่ให้ลูกๆ ของตัวเองพูดคุยกับใครก็ตามที่พวกเขาไม่รู้จักในโลกแห่งความเป็นจริง แต่เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น พ่อแม่อาจจับเข่าพูดคุยกับลูกเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎข้อนี้ ต่อไปนี้เป็นข้อห้ามพื้นฐานที่พ่อแม่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจ ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (เช่น ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์)…
Read More

ลูกดื้อมาก หรือเราฝืนธรรมชาติของเด็ก?

ที่เราบอกว่า “ลูกดื้อมาก ซนมาก เอาแต่ใจมาก ทำตัวไม่น่ารัก”เป็นเพราะลูกเป็นแบบนั้นจริงๆ หรือเพราะเราฝืนธรรมชาติความเป็นเด็กของลูก? ลูกซนมาก อยู่นิ่งไม่ได้เลย ลูกชอบรื้อของมาก ค้นทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้า ลูกดื้อมาก ขู่ บ่น หรือตีก็แล้ว ลูกก็ไม่ฟังเลย ลูกชอบอาละวาด กรี๊ด งอแงเวลาไม่พอใจ ลูกกินน้อย กินยาก ต้องคอยตามป้อนตลอด ลูกหวงของเล่นมาก ไม่แบ่งของเล่นให้น้องเล่นบ้างเลย ลูกช่างถาม สงสัยได้ทุกเรื่อง พูดได้ทั้งวัน ลูกห่วงเล่น ถึงเวลากินไม่กิน ถึงเวลานอนไม่นอน ลูกมีนิสัยเหมือนเด็กขี้แย ขี้กลัว ชอบร้องไห้งอแงเวลาเจอสถานการณ์ใหม่ๆ และอีกสารพัดปัญหาที่ลูกแสดงออกที่ทำให้เรากังวลกับพฤติกรรมที่ลูกทำ และบอกว่าลูก “ดื้อ“ หรือ “เอาแต่ใจ“ ความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่เพราะลูก “ดื้อ“ หรือ “เอาแต่ใจ“ แต่หลายๆ เรื่องเป็นเรื่อง “ปกติของเด็กเล็ก” เป็น…
Read More