ทักษะ 8C :
ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ
(Creativity and Innovation)
ทักษะ 8C ถือเป็นทักษะที่เด็กในศตวรรษที่ 21 ต้องมี โดยประกอบไปด้วย 8 ทักษะ ดังนี้ 1. ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ (Creativity and Innovation) 2. ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) 3. ทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration, Teamwork and Leadership) 4. ทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ (Communication Information and Media Literacy) 5. ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) 6. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Computing and ICT Literacy) 7. ทักษะด้านอาชีพและการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และ 8. ความเมตตากรุณาและคุณธรรม (Compassion)
ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ (Creativity and Innovation)
ความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบถือเป็นทักษะที่ต้องได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมตั้งแต่ตอนที่เด็กยังอายุน้อย แต่ผู้ปกครองหลายคนมักมองว่าทักษะนี้ไม่สามารถฝึกฝนหรือพัฒนาได้ เพราะคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด และเป็นพรสวรรค์ที่พบได้ในตัวเด็กบางคนเท่านั้น ไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีได้ อันที่จริงนี่ถือเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ในทุกคน ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใดก็ตาม อีกทั้งยังสามารถปลูกฝังได้ตั้งแต่เล็กด้วย
วิธีส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และรู้จักคิดนอกกรอบ
การปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบให้กับเด็กๆ สามารถทำได้ทั้งที่บ้านและในห้องเรียน ต่อไปนี้คือวิธีที่ผู้ปกครองและคุณครูสามารถนำไปใช้ได้
1. พาเด็กออกไปเล่นข้างนอก
การคลุกคลีกับธรรมชาติจะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ โดยกิจกรรมที่เด็กเล็ก สามารถทำได้มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสำรวจสภาพแวดล้อมรอบตัว เล่นก่อกองทราย ปั้นโคลน สังเกตรูปร่างของก้อนเมฆ ส่องนก จับแมลง หรือเก็บใบไม้รูปทรงแปลกๆ ส่วนกิจกรรมที่เด็กโตหรือเด็กที่อยู่ในระดับชั้นประถมสามารถทำได้คือ การออกไปสำรวจธรรมชาติ แล้ววาดภาพหรือถ่ายภาพสิ่งที่เห็น การทำเช่นนี้อาจกระตุ้นให้เด็กๆ อยากที่จะสำรวจสิ่งรอบตัวมากขึ้น นอกจากนี้ การพาเด็กออกไปเล่นข้างนอกยังเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการส่งเสริมจินตนาการด้วย
2. เล่นบทบาทสมมุติ
การเล่นบทบาทสมมุติเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ ผู้ปกครองและคุณครูมีหน้าที่สนับสนุนการเล่นของเด็กๆ เช่น หากเด็กสนใจเรื่องสัตว์ ก็อาจแนะนำให้เด็กรวบรวมตุ๊กตาสัตว์ที่มีอยู่ในบ้านหรือในห้องเรียน แล้วเล่นเป็นสัตว์แพทย์โดยมีคนไข้เป็นตุ๊กตาสัตว์ สิ่งสำคัญคือ ผู้ปกครองและคุณครูต้องปล่อยให้เด็กรับบทเป็นผู้นำ อย่าตัดสินใจแทนเด็กว่าจะให้บทบาทสมมุตินี้ดำเนินไปในทิศทางใด
3. ตั้งคำถามปลายเปิด
การตั้งคำถามปลายเปิดเป็นการกระตุ้นให้เด็กๆ ได้ใช้ความคิด และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นของตนเองออกมา คำถามที่อาจนำไปถามเด็กก็คือ “วันนี้เห็นก้อนเมฆเป็นรูปอะไร” หรือ “อยากทานอะไรตอนมื้อเที่ยง” ข้อควรระวังคือ อย่าตัดสินว่าคำตอบของเด็กถูกหรือผิด ผู้ปกครองและคุณครูต้องทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี และรับฟังโดยปราศจากอคติ
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายวิธีที่ผู้ปกครองและคุณครูสามารถเลือกใช้เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และรู้จักคิดนอกกรอบ ทั้งนี้เด็กจะเรียนรู้ได้มากน้อยแค่ไหนล้วนขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่เป็นหลัก สำหรับหนังสือของทางสำนักพิมพ์ I.S. Practical ที่ส่งเสริมทักษะ 8C มีอยู่ด้วยกันหลายเล่มเลยค่ะ แต่หนังสือที่อยากแนะนำให้ผู้ปกครองอ่านคือหนังสือชุด “คิดส์เก่ง Worksheets เตรียมเข้า ป.1” ซึ่งในชุดมีด้วยกันทั้งหมด 6 เล่ม หนังสือชุดนี้จะกระตุ้นให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะ 8C อย่างครบถ้วนและเป็นขั้นเป็นตอน ถ้าคุณพ่อคุณแม่สนใจหนังสือ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line Official: @isstore ได้เลยค่ะ
กองบรรณาธิการ
I.S. Practical
แหล่งอ้างอิง :
• https://www.thaipbskids.com/contents/5f6188f917d8e5bbee2401a1
• https://www.mffy.com/blog/why-creativity-is-important-in-early-years-child-development